Home design Museum

พิพิธภัณฑ์ออกแบบบ้าน จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแบบความรู้ในการออกแบบบ้าน ครุภัณฑ์ วัสดุ การตกแต่งที่หลากหลายรูปแบบ หลากหลายสไตล์เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมได้เห็นรูปแบบบ้านและได้ความรู้ในการออกแบบบ้านที่ตนเองพึงพอใจ เหมาะสำหรับผู้ที่ทำอาชีพนักออกแบบสถาปัตยกรรม นักออกแบบตกแต่ง นักออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงผู้ที่สนใจในด้านการออกแบบเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบบ้าน หรือ ชื่นชอบการตกแต่งบ้าน

รูปที่  1 http://www.airplanesuperstore.com/herpaccess.htm

ด้านในพิพิธภัณฑ์จะเป็นการจำลองการตกแต่งสไตล์ของบ้านในแต่ละห้องด้วยอุปกรณ์ วัสดุ ของจริงเพื่อให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในสถานที่จริง โดยแบ่งโซนแต่ละสไตล์ตามจุดต่างๆ

 

Home style

สไตล์การออกแบบเกิดขึ้นจากช่วงเวลายุคสมัย สภาพแวดล้อม วัสดุที่เหมาะสม ความชื่นชอบ และความลงตัว มีมากหลากหลายรูปแบบให้เลือกตกแต่ง เช่น 

Contemporary ร่วมสมัย
Eclectic ผสมผสาน
Modern ทันสมัย
Traditional แบบดั้งเดิม
Asian เอเชีย
Beach style สไตล์ชายหาด
Craftsman ช่างฝีมือ
Farmhouse บ้านไร่
Rustic บ้านนอก
และอื่นๆ

ในที่นี้จะยกตัวอย่างสไตล์ที่นิยมและพอรู้จักกันโดยคนหมู่มาก

 

     1.  Contemporary Style  สไตล์ร่วมสมัย

Home crop

รูปที่ 2 http://www.shera.com/th/residential/help/icorner/info/12/

หมายถึง รูปแบบการตกแต่งแบบร่วมสมัย ได้แก่ การนำเอางานออกแบบที่นิยมในปัจจุบันมาผสมกันอย่างกลมกลืนในรูปแบบต่างๆ ในอดีตอย่างน้อยหนึ่งรูปแบบ เพื่อดึงความรู้สึกอารมณ์จากรูปในอดีตมาแต่งกลิ่น เพิ่มรสให้กับงานออกแบบนั้นๆ ทำให้รู้สึกสมดุลกันทั้งสองยุค โดยปกติแล้ว รูปแบบร่วมสมัยนี้ มักมีรูปแบบพื้นฐานที่เรียบง่าย ไม่มีลวดลายซับซ้อน จากนั้นจะตกแต่งให้สวยงามขึ้น หรือเพิ่มความรู้สึกด้วยของประดับ ตกแต่ง หรือบัวพื้น และเพดานจากยุคสมัยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

รูปภาพจำลอง โต๊ะทำงาน Contemporary Style

OK

รูปที่ 3 https://www.houzz.com/photos/contemporary

 

     2.  Modern Style สไตล์ทันสมัย

รูปที่ 4 http://www.shera.com/th/residential/help/icorner/info/120/

ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งก่อสร้างในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมของชาติตะวันตก ซึ่งคนต้องการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า จึงลดทอนองค์ประกอบที่ฟุ่มเฟือย เหลือไว้แค่รูปทรงเรียบๆ แต่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด จึงเห็นว่าบ้านสไตล์โมเดิร์นส่วนใหญ่มักเป็นทรงเรขาคณิตเหลี่ยมเรียบ โปร่งโล่ง นิยมหน้าต่างกระจกใสบานใหญ่ เน้นรูปทรงและเส้นสายที่ดูเรียบง่ายสบายตา ตัวอาคารมีรายละเอียดไม่มากนัก บางหลังในเมืองหนาวอาจเป็นแค่ทรงกล่อง หลังคาแบน ไม่มุงกระเบื้อง ไม่มีชายคา เพราะไม่มีแดดจัดหรือฝนตกหนักแบบในเมืองร้อน

รูปภาพจำลอง ห้องครัว Modern Style

OK

รูปที่ 5 https://www.houzz.com/photos/modern

 

     3.  Eclectic Style สไตล์ผสมผสาน   

OK

รูปที่ 6 https://www.houzz.com/photos/eclectic/outdoor/p/8

เป็นการตกแต่งบ้านโดยการหยิบเอาความหลากหลายของสิ่งของ และรูปแบบของการตกแต่งบ้านแต่ละสไตล์มารวมเข้าด้วยกันผ่านการใช้ สี รูปทรง การจัดวางองค์ประกอบ ให้เกิดมุมมองที่สวยงามและเหมาะสม โดยมุ่งเน้นการผสมผสาน (Mixing) มากกว่าการทำให้เข้ากัน (Matching) ทำให้แตกต่างจากการตกแต่งบ้านสไตล์ Mix and Match อยู่พอสมควร

จุดเด่นของการตกแต่งสไตล์นี้คือ สามารถรวมเอาเก้าอี้แบบโมเดิร์นไว้กับแบบโต๊ะวินเทจ เป็นการผสมผสานสิ่งที่อยู่คนละช่วงเวลา คนละรูปแบบเข้าไว้ด้วยกัน

รูปภาพจำลอง ห้องนั่งเล่น Eclectic Style 

OK

รูปที่ 7 https://www.houzz.com/photos/eclectic/p/16

 

แผนผังตัวอย่างด้านในพิพิธภัณฑ์จุดชมแบบบ้าน

All room 3

รูปที่ 8 จำลองการวาดขึ้นเอง

 

ติดต่อ-สอบถามข้อสงสัย

จุดบริการตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องบ้าน โดยมีบุคลากรที่มีความรู้คอยตอบคำถาม ให้คำแนะนำ เพื่อนำไปต่อยอดความรู้ที่ลงลึกมากขึ้น

 

ติดต่อเพื่อออกแบบบ้านในฝัน

ถ้าเกิดสนใจการตกแต่งบ้านแต่ไม่รู้ว่าควรแต่งแบบไหนถึงเหมาะสมมากที่สุด สามารถติดต่อสอบถามจากช่างอาชีพ จากบุคลากรได้ โดยจำแนกช่างอาชีพที่ถนัดในแต่ละด้านได้ ดังนี้

     1. ช่างการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ออกแบบเครื่องอุปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก 

     2. ช่างออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design)  การออกแบบชั้นสูงที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาออกแบบ ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีในการผลิต

     3. ช่างออกแบบตกแต่ง (Decorative Design) ออกแบบตกแต่งสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้องตามหลักความสวยงามและมีดีไซน์ โดยผู้ที่ออกแบบเรียกว่า มัณฑนากร (Decorator)

     4. ช่างออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design) ออกแบที่เกี่ยวกับการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น ตึก , คอนโด , บ้าน , ถนนและอื่นๆ โดยผู้ที่ออกแบบสิ่งเหล่านี้เรียกว่า สถาปนิก (Architect)

 

สนใจวัสดุ อุปกรณ์ในสไตล์ที่ชอบ

ทางพิพิธภัณฑ์จะมีบริการขายวัสดุ อุปกรณ์ในการตกแต่งบ้านของคุณให้โดยติดต่อกับบุคลากรด้านฝ่ายขาย โดยจะมีคอลเลคชั่นให้เลือกชมพร้อมกับระบุ ขนาด ราคา และสไตล์เพื่อตอบสนองกับความต้องการซื้ออย่างชัดเจน โดยจะมีบุคลากรช่วยชี้แนะแนวทางที่เหมาะสม

 

 

 

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

งานออกแบบในโลกมีอะไรบ้าง. เข้าถึงได้จาก :

https://www.design365days.com/Site/BlogDetail.aspx?id=118

(วันที่ค้นข้อมูล 8 กรกฎาคม 2561)

 

Contemporary Style Design by SHERA. เข้าถึงได้จาก :

http://www.shera.com/th/residential/help/icorner/info/12/

(วันที่ค้นข้อมูล 8 กรกฎาคม 2561)

 

Eclectic Style คืออะไร. เข้าถึงได้จาก :

http://www.infinitydesign.in.th/

(วันที่ค้นข้อมูล 8 กรกฎาคม 2561)

 

 

จัดทำโดย นายชาคริต รัตนศิลปิน รหัสนิสิต 59020851 ลำดับที่ 33 (ภาคปกติ)

Data mining for library

Data mining

การทําเหมืองข้อมูล (Data Mining) คือกระบวนการที่กระทํากับข้อมูลจํานวนมากเพื่อค้นหารูปแบบและความสัมพันธ์ ที่ซ่อนอยู่ในชุดข้อมูลนั้น ในปัจจุบันการทําเหมืองข้อมูลได้ถูกนําไปประยุกต์ใช้ในงานหลายประเภท ทั้งในด้านธุรกิจที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร ในด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เศรษฐกิจ สังคม รวมถึงห้องสมุด

การทําเหมืองข้อมูลเปรียบเสมือนวิวัฒนาการหนึ่งในการจัดเก็บและตีความหมาย ข้อมูล จากเดิมที่มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างง่ายๆ มาสู่การจัดเก็บในรูปฐานข้อมูลที่สามารถดึงข้อมูลสารสนเทศมาใช้จนถึงการทํา เหมืองข้อมูลที่สามารถค้นพบความรู้ที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล

Data mining for library

ห้องสมุดมีบทบาทและทำหน้าที่สำคัญในการเป็นหัวใจขององค์กรในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ และบทบาทการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ในบทบาทของการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ห้องสมุดจึงเต็มไปด้วยข้อมูลต่างๆ ของผู้คนที่อยู่ในองค์กร ข้อมูลพื้นฐานเหล่านั้น สามารถนำออกมาแสดงด้วยการทำเหมืองข้อมูลของห้องสมุด (library data mining) การทำ Bibliomining เป็นการนำข้อมูลภายในของห้องสมุดออกมาประมวลผล รวมทั้งอธิบายความหมายตามบริบทของห้องสมุด

รูปที่ 1 จาก Deval Shah https://towardsdatascience.com/data-mining-tools-f701645e0f4c

 

ข้อมูลของห้องสมุดที่นำมาใช้ในการทำ Bibliomining อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1. ข้อมูลที่มาจากการสร้างของห้องสมุด 
2. ข้อมูลที่มาจากการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
3. ข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศภายนอกหรือไม่ได้อยู่ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

 

ขั้นตอนการทำเหมืองข้อมูล

             ประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานย่อยที่จะเปลี่ยนข้อมูลดิบให้กลายเป็นความรู้ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

รูปที่ 2 จาก Sajee Vanich http://sajeegm301.blogspot.com/2015/11/data-mining.html

 

           –    Data Cleaning เป็นขั้นตอนสำหรับการคัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป

           –    Data Integration เป็นขั้นตอนการรวมข้อมูลที่มีหลายแหล่งให้เป็นข้อมูลชุดเดียวกัน

           –    Data Selection เป็นขั้นตอนการดึงข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์จากแหล่งที่บันทึกไว้

               Data Transformation เป็นขั้นตอนการแปลงข้อมูลให้เหมาะสมสำหรับการใช้งาน

           –    Data Mining เป็นขั้นตอนการค้นหารูปแบบที่เป็นประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่

           –    Pattern Evaluation เป็นขั้นตอนการประเมินรูปแบบที่ได้จากการทำเหมืองข้อมูล

           –    Knowledge Representation เป็นขั้นตอนการนำเสนอความรู้ที่ค้นพบ โดยใช้เทคนิค ในการนำเสนอเพื่อให้เข้าใจ

 

 

 

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

การทําเหมืองข้อมูล (Data Mining). เข้าถึงได้จาก :

http://compcenter.bu.ac.th/news-information/data-mining

(วันที่ค้นข้อมูล 6 กรกฎาคม 2561)

 

Data Mining (เหมืองข้อมูล). เข้าถึงได้จาก :

http://sajeegm301.blogspot.com/2015/11/data-mining.html

(วันที่ค้นข้อมูล 6 กรกฎาคม 2561)

 

Bibliomining เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานห้องสมุด. เข้าถึงได้จาก :

https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/2796-bibliomining

(วันที่ค้นข้อมูล 6 กรกฎาคม 2561)

 

Create a free website or blog at WordPress.com.

Up ↑

Design a site like this with WordPress.com
Get started